โปรดรอสักครู่...
แบบมาตรฐานในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน
ชื่อ - นามสกุล :
รหัสประจำตัวประชาชน :
วันที่ทำการประเมิน :
24 มีนาคม 2566
1. ปัจจุบันท่านอายุ
มากกว่า 55 ปี
45-55 ปี
35-44 ปี
น้อยกว่า 35 ปี
2. ปัจจุบันท่านมีภาระทางการเงินและค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าผ่อนบ้าน รถ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าเลี้ยงดูครอบครัว
มากกว่าร้อยละ 75 ของรายได้ทั้งหมด
ระหว่างร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 75 ของรายได้ทั้งหมด
ระหว่างร้อยละ 25 ถึงร้อยละ 50 ของรายได้ทั้งหมด
น้อยกว่าร้อยละ 25 ของรายได้ทั้งหมด
3. ท่านมีสถานภาพทางการเงินในปัจจุบันอย่างไร
มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สิน
มีทรัพย์สินเท่ากับหนี้สิน
มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน
มีความมั่นใจว่ามีเงินออมหรือเงินลงทุนเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุแล้ว
4. ท่านเคยมีประสบการณ์ หรือมีความรู้ในการลงทุนในทรัพย์สินกลุ่มใดต่อไปนี้บ้าง (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
เงินฝากธนาคาร
พันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
หุ้นกู้ หรือกองทุนรวมตราสารหนี้
หุ้นสามัญ หรือกองทุนรวมหุ้น หรือสินทรัพย์อื่นที่มีความเสี่ยงสูง
5. ระยะเวลาที่ท่านคาดว่าจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนนี้
ไม่เกิน 1 ปี
1 ถึง 3 ปี
3 ถึง 5 ปี
มากกว่า 5 ปี
6. วัตถุประสงค์หลักในการลงทุนของท่าน คือ
เน้นเงินต้นต้องปลอดภัยและได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอแต่ต่ำได้
เน้นโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ แต่อาจเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นได้บ้าง
เน้นโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่อาจเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นได้มากขึ้น
เน้นผลตอบแทนสูงสุดในระยะยาว แต่อาจเสี่ยงที่จะสูญเงินต้นส่วนใหญ่ได้
7. เมื่อพิจารณารูปแสดงตัวอย่างผลตอบแทนของกลุ่มการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นด้านล่าง ท่านเต็มใจที่จะลงทุนในกลุ่มการลงทุนใด
กลุ่มการลงทุนที่ 1 มีโอกาสได้รับผลตอบแทน 2.5% โดยไม่ขาดทุนเลย
กลุ่มการลงทุนที่ 2 มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงสุด 7% แต่อาจมีผลขาดทุนได้ถึง 1%
กลุ่มการลงทุนที่ 3 มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงสุด 15% แต่อาจมีผลขาดทุนได้ถึง 5%
กลุ่มการลงทุนที่ 4 มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงสุด 25% แต่อาจมีผลขาดทุนได้ถึง 15%
8. ถ้าท่านเลือกลงทุนในทรัพย์สินที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนมาก แต่มีโอกาสขาดทุนสูงด้วยเช่นกัน ท่านจะรู้สึกอย่างไร
กังวลและตื่นตระหนกกลัวขาดทุน
ไม่สบายใจแต่พอเข้าใจได้บ้าง
เข้าใจและรับความผันผวนได้ในระดับหนึ่ง
ไม่กังวลกับโอกาสขาดทุนสูง และหวังกับผลตอบแทนที่อาจจะได้รับสูงขึ้น
9. ท่านจะรู้สึกกังวล/รับไม่ได้ เมื่อมูลค่าเงินลงทุนของท่านมีการปรับตัวลดลงในสัดส่วนเท่าใด
5% หรือน้อยกว่า
มากกว่า 5%-10%
มากกว่า 10%-20%
มากกว่า 20% ขึ้นไป
10. หากปีที่แล้วท่านลงทุนไป 100,000 บาท ปีนี้ท่านพบว่ามูลค่าเงินลงทุนลดลงเหลือ 85,000 บาท ท่านจะทำอย่างไร
ตกใจ และต้องการขายการลงทุนที่เหลือทิ้ง
กังวลใจ และจะปรับเปลี่ยนการลงทุนบางส่วนไปในทรัพย์สินที่เสี่ยงน้อยลง
อดทนถือต่อไปได้ และรอผลตอบแทนปรับตัวกลับมา
ยังมั่นใจ เพราะเข้าใจว่าต้องลงทุนระยะยาว และจะเพิ่มเงินลงทุนในแบบเดิมเพื่อเฉลี่ยต้นทุน
คำถามข้อ 11-12 ใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการให้คำแนะนำ
ใช้เฉพาะที่จะมีการลงทุนในอนุพันธ์และหุ้นกู้อนุพันธ์โดยตรงเท่านั้น
11. หากการลงทุนในอนุพันธ์และหุ้นกู้อนุพันธ์ประสบความสำเร็จ ท่านจะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่สูงมาก แต่หากการลงทุนล้มเหลว ท่านอาจจะสูญเงินลงทุนทั้งหมด และอาจต้องลงเงินชดเชยเพิ่มบางส่วน ท่านยอมรับได้เพียงใด
ไม่ได้
ได้บ้าง
ได้
ใช้เฉพาะที่จะมีการลงทุนในต่างประเทศ
12. นอกเหนือจากความเสี่ยงในการลงทุนแล้ว ท่านสามารถรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้เพียงใด
ไม่ได้
ได้บ้าง
ได้
Best viewed with Internet Explorer 8 or later at 1024 x 768 or higher screen resolution.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
กรณีมีคำถามในการใช้ระบบงาน กรุณาติดต่อ Service Desk Service Desk โทร. (66) 2033-9999 ต่อ 2525 หรือ 2527 โทรสาร. (66) 2033-9660 E-mail : helpdesk@sec.or.th